เกี่ยวกับเรา

ประวัติความเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2498 มร.โรเบิร์ต เอมวูล์ฟ ซึ่งเป็นอาสาสมัครชาวอเมริกัน ผู้ซึ่งมีความสนใจที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อนให้หาย และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีเช่นคนทั่วๆไป ได้เดินทางมาประเทศไทย ช่วยแนะนำให้ผู้หายป่วยจากโรคเรื้อน จัดตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้น เพื่อให้มีการช่วยเหลือตนเอง อยู่กันเป็นครอบครัวและชุมชนอย่างปกติสุข ประกอบกับ มร.โรเบิร์ต เอมวูล์ฟ ได้พบกับรองประธานาธิบดี มร.ฮิวเมอร์ต ฮัมฟรีย์ จึงทำให้ได้รับเงินสนับสนุนจาก United States Overseas Mission [U.S.O.M.] เพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น

หมู่บ้าน “ไตรสภาวคาม”ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านแรกที่จัดตั้งขึ้น พร้อมทั้งได้สร้างโรงเรียนเพื่อรองรับบุตรหลานของผู้หายป่วย เมื่อปี 2516 ได้โอนเป็นโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว แห่งที่สองคือ หมู่บ้านกองลอย ต.บ่อสลี อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ได้รวมผู้หายป่วยจากโรคเรื้อนและผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังแต่มีอาการทางจิตทุเลาไปอยู่ด้วยกัน แต่ปรากฏว่าประสบปัญหาอยู่ด้วยกันไม่ได้ จึงแยกผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังแต่มีอาการทางจิตทุเลาไปอยู่ที่”บ้านกึ่งวิถี”ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพห้วยดินดำ ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ และผู้หายป่วยจากโรคเรื้อนอยู่ที่หมู่บ้านชีวิตใหม่ หมู่ 5 ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน

หลักการดำเนินงานของมูลนิธิชีวิตใหม่ฯ

  1. ดำเนินการให้สมาชิกในหมู่บ้าน ได้ดำเนินชีวิตเช่นคนปกติทั่วไป สามารถเผชิญกับอุปสรรคด้วยตนเอง
  2. พยายามส่งเสริมให้ผู้หายป่วยจากโรคเรื้อนแต่ยังความพิการอยู่ และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังแต่อาการทุเลา ได้อยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ตลอดจนส่งเสริมให้สังคมยอมรับ ลบความคิดที่จะเรียกว่า “หมู่บ้านโรคเรื้อน”ออกไปเสีย
  3. ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้ที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพเกษตรกรรม แบบสหกรณ์หมู่บ้าน สามารถใช้ที่ดินผืนนั้นไปจนชั่วลูกชั่วหลาน

หมู่บ้านที่มูลนิธิชีวิตใหม่ ให้การสนับสนุน

มูลนิธิชีวิตใหม่ ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2507 ได้รับเข้าเป็นองค์การสมาชิกของสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ต่อมาในปี 2510 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระเมตตาโปรดเกล้าฯรับไว้ในพระอุปถัมภ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันมีหมู่บ้านที่ได้ให้การสนับสนุน 3 หมู่บ้าน คือ

  1. หมู่บ้านไตรสภาวคาม หมู่ 5 ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ มีสมาชิกเป็นผู้พิการอันเนื่องมาจากโรคเรื้อน จำนวน 55 คน ชาย 30 คน หญิง 25 คน เป็นคนปกติและบุตรหลานของผู้หายป่วยจากโรคเรื้อน ชาย 310 คน หญิง 356 คน รวม 721 คน         ครอบครัว สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์การเกษตร เพื่อรับซื้อพืชผลทางการเกษตร โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง
  2. หมู่บ้านชีวิตใหม่ หมู่ 5 ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน มีสมาชิกเป็นผู้พิการอันเนื่องมาจากโรคเรื้อน จำนวน คน ชาย คน หญิง     คน เป็นคนปกติและบุตรหลานของผู้หายป่วยจากโรคเรื้อน ชาย 226 คน หญิง 254 คน รวม  480  คน 141 ครอบครัว สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม พืชไร่ ไม้ผล ได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินจากโครงการจัดสรรที่ดิน
  3. บ้านกึ่งวิถีชีวิตใหม่ หมู่ 7 ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ มีสมาชิกเป็นผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่มีอาการทางจิตทุเลา ผู้ป่วยที่รอญาติมารับกลับ ซึ่งเคยรับการรักษาอยู่ที่ โรงพยาบาลสวนปรุง เข้ามาพักอาศัยแบบ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ ฝึกอาชีพการเกษตร ฟื้นฟูทางสังคม เพื่อเตรียมตัวกลับไปอยู่กับครอบครัวตามเดิม โดยจะหมุนเวียนคราวละ 30 คน นอกจากนี้ยังมีผู้หายป่วยที่ไม่มีญาติอุปการะ พักอยู่ประจำ 30 คน

อาคารสมเด็จย่า , อาคารสมเด็จหญิง

เป็นอาคารบ้านพักสำหรับผู้หายป่วยจากโรคเรื้อนที่พิการหรือสูงอายุ ไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดู ให้เข้ามาพักอาศัยอยู่ในอาคารดังกล่าว โดยมูลนิธิฯ ให้เบี้ยเลี้ยง-ข้าวสาร โดยให้ช่วยเหลือตนเองในการดำรงชีวิตประจำวัน มีเจ้าหน้าที่ดูแลความเป็นอยู่  ได้รับพระกรุณาธิคุณพระราชทานทุนประเดิมค่าก่อสร้าง โดย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวนสองแสนบาท อีกส่วนหนึ่งรับบริจาคจากผู้มีจิตเมตตา ได้รับพระราชทานนามอาคารทั้งสองแห่งนี้จาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

อาคารสมเด็จย่า    :  อยู่ที่หมู่บ้านชีวิตใหม่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

อาคารสมเด็จหญิง: อยู่ที่หมู่บ้านไตรสภาวคาม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

กิจกรรมที่ดำเนินการ

  1. ให้การสงเคราะห์เบี้ยเลี้ยง-ข้าวสาร ผู้สูงอายุและพิการอันเนื่องมาจากโรคเรื้อน ในบ้านพัก”อาคารสมเด็จหญิง”และในบ้านพัก”อาคารสมเด็จย่า” รวม 18 คน
  2. สนับสนุนค่าอาหารพิเศษ ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังที่มีอาการทางจิตทุเลา ในบ้านกึ่งวิถีชีวิตใหม่ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพห้วยดินดำ อ.หางดง จ.เชียงใหม่
  3. เยี่ยมบ้านสมาชิกหมู่บ้านชีวิตใหม่ และหมู่บ้านไตรสภาวคาม โดยคณะกรรมการมูลนิธิฯ พร้อมมอบเครื่องอุปโภค-บริโภค แก่สมาชิกผู้สูงอายุและพิการอันเนื่องมาจากโรคเรื้อน
  4. โครงการแพทย์ทางเลือก โดยมีที่ปรึกษาจากประเทศเบลเยี่ยมและคณะ ( Cory Croymans-Plaghki) มาให้บริการแก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการในหมู่บ้านทั้งสามแห่ง เป็นประจำทุกเดือน โดยวิธี Bio-Energetics & Reiki
  5. ให้การสงเคราะห์ เป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางแก่ผู้สูงอายุและพิการ ในการเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล
  6. ส่งเสริมการศึกษาบุตรหลานสมาชิกหมู่บ้าน โดยมอบทุนการศึกษาต่อเนื่อง จากกองทุนการศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาสของมูลนิธิชีวิตใหม่ ฯ จำนวน 10 ทุน ๆ 5,000 บาท/ปีและส่งเสริมให้เยาวชนในหมู่บ้าน ได้ไปฝึกอาชีพ เพื่อกลับมาพัฒนาหมู่บ้าน
  7. สนับสนุนการพัฒนาหมู่บ้านและสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันแม่แห่งชาติ วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ
  8. ส่งเสริมการประกอบอาชีพเกษตร ปลูกพืชไร่ ไม้ผล พืชผักสมุนไพร
  9. ส่งเสริมการประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร ไก่ และโค โดยได้รับความร่วมมือจากกรมปศุสัตว์ ได้รับพระราชทานโค จากโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรยากจนตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  10. ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและรักษาสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน ให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่บ้านสำหรับผู้ป่วยติดเตียง โดยครอบครัวและชุมชน   โครงการ “ให้ความรู้เท่าทันยาเสพติดและโรคเอดส์” “วัยรุ่นวัยใสใส่ใจสุขภาพ”ป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร แก่เยาวชนในหมู่บ้าน และ ออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ ทำฟันเชียงใหม่ แก่ผู้ยากไร้ ฯลฯ

คณะกรรมการบริหารมูลนิธิชีวิตใหม่ฯ

ดร. สมบูรณ์ สู่ประเสริฐ ประธานคณะกรรมการ
นายสมยศ นิมมานเหมินทร์ รองประธาน
นายอินสม ปัญญาโสภา รองประธาน
นางสาวอัมพวัลย์ ทักษิณสุข กรรมการ
นางสาวอนิดา มีพลกิจ กรรมการ
นายกมล ทวีชัย กรรมการ
นายอัครเดช คัมภีระมนต์ กรรมการ
นางสาวระย้า เหลือหลาย กรรมการ
ทพญ. ลัดดาวรรณ กิตติรังสิ กรรมการและเหรัญญิก
นางเบญจวรรณ คงทรัพย์ กรรมการและเลขานุการ
นางสาวพัชรี ฉั่วริยะกุล กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการที่ปรึกษา

คุณหญิงบุพพัณห์ นิมมานเหมินท์ ประธานกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
คุณหญิงโรส บริบาลบุรีภัณฑ์  
ศ.นพ.โชติ ธีตรานนท์  
ผศ.นพ.อนุชาติ มาธนะสารวุฒิ  
รศ.พญ.รัตนา พันธ์พาณิช  
นางสุวิมล ลิ้มเล็งเลิศ  
นางเจียมจิตต์ บุญสม  
นางทองใบ ห่านตระกูล  
นายมานิตย์ ขันธสีมา  
นางสุรางค์รัตน์ ณ ลำปาง  
นางบุญมี อรุณสิทธิ์  
นางประสพศรี วิภาตะศิลปิน  
นางพรอุมา ธรรมกูล  
นายสมศักดิ์ สุขนิยม  
นายบัญชา กิตติรังสิ  

แหล่งสนับสนุนเงินทุน

  1. ทุนการกุศลสมเด็จย่า
  2. ทุนการกุศล กว.
  3. มูลนิธิกองทุนการกุศลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
  4. สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  5. ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค

  nlf-about-pic-01

nlf-about-pic-02 

nlf-about-pic-03

nlf-about-pic-04